วัฒนธรรม

วัฒนธรรมประเทศไทย

ชาติไทยเป็นชาติที่เก่าแก่และมีวัฒนธรรมประจำชาติที่เกิดจากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษและพัฒนาหล่อหลอมขึ้นในสังคมไทย  จนมีความเป็นเอกลักษณ์ของตนเองไม่ว่าจะเป็นภาษา  วรรณคดี  ศิลปวัตถุ  ดนตรี  อาหารและการแต่งกาย  นอกจากนี้  คนไทยยังได้มีการยอมรับเอาวัฒนธรรมของชาติอื่นเข้ามาผสมผสาน  โดยการนำมาดัดแปลงผสมผสานกันได้อย่างกลมกลืน  จนเกิดเป็นวัฒนธรรมของสังคมไทยที่มีเอกลักษณ์

ที่มาของวัฒนธรรมไทย

 วัฒนธรรมไทยมีที่มาจากหลายแหล่งกำเนิดด้วยกัน  ดังนี้

1)  สิ่งแวดล้อมทางภูมิศาสตร์และสังคมเกษตรกรรม  เนื่องจากพื้นที่ของประเทศไทยส่วนใหญ่มีสภาพภูมิศาสตร์เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ  คนไทยจึงมีความผูกพันกับแม่น้ำลำคลอง  ทำให้เกิดวิถีชีวิตริมน้ำและประเพณีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับน้ำที่สำคัญ  เช่น  ประเพณีลอยกระทง  ประเพณีสงกรานต์  เป็นต้น

2)  พิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา  พระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้ามาในประเทศไทยเป็นเวลานาน  โดยคนไทยได้นำหลักคำสอนมาใช้ในการดำเนินชีวิต  นอกจากนี้ยังมีประเพณีและพิธีกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอีกเป็นจำนวนมาก  เช่น  การทอดกฐิน  การทอดผ้าป่า  การบวชเพื่อสืบทอดศาสนา  เป็นต้น

3)  ค่านิยม  เป็นแบบอย่างพฤติกรรมของคนในสังคมที่มีความแตกต่างกัน  ค่านิยมบางอย่างกลายเป็นแกนหลักของวัฒนธรรมไทย  เช่น  ความรักชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์  ซึ่งคนไทยให้ความเคารพและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นอย่างมาก

4)  การเผยแพร่และการยอมรับวัฒนธรรมจากต่างชาติ  ในอดีตประเทศไทยได้รับวัฒนธรรมจากจีนและอินเดียเข้ามาผสมผสานกับวัฒนธรรมดั้งเดิม  แต่ในปัจจุบันจากกระแสโลกาภิวัฒน์ทำให้เกิดการหลั่งไหลของวัฒนธรรมต่างชาติเมาในประเทศไทย  โดยเฉพาะวัฒนธรรมที่มาจากชาติตะวันตกที่เห็นได้อย่างชัดเจน  เช่น  การแต่งกายตามแบบสากล  การผูกเนคไท  การสวมเสื้อนอก  การสร้างบ้านเรือนรูปทรงต่าง ๆ เป็นต้น

วัฒนธรรมภาคใต้

ภูมิประเทศของภาคใต้มีเอกลักษณ์เฉพาะ คือมีชายฝั่งประกบเทือกเขาสูงที่อยู่ตรงกลาง ซึ่งไม่มีภูมิภาค อื่นๆ ภูมิประเทศเป็นหลักจึงเป็นเทือกเขาและชายฝั่ง เป็นที่ราบจะมีอยู่เป็นแนวแคบๆ แถบชายฝั่งทะเล และสองฝั่งลำน้ำ การตั้งถิ่นฐานจะอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลทั้งด้านตะวันออกและตะวันตก จากลักษณะทาง ภูมิศาสตร์ของภาคใต้ ทำให้มีคนที่ต่างภาษาต่างวัฒนธรรมอย่างหลากหลายเดินทางเข้ามาภาคใต้มีทั้งชาว พุทธ ชาวมุสลิม ต่างเชื้อชาติกัน เช่น คนไทย คนจีน และผู้ที่มีเชื้อสายมาเลย์ รวมทั้ง ชาวเมือง เช่น ชาวเล อาศัยอยู่กัน วัฒนธรรมภาคใต้จึงมีรูปแบบอันเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ ดังนั้นภาคใต้จึง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจเพราะมีภูมิศาสตร์ที่งดงาม มีชายฝั้งทะเลและมีวัฒนธรรมหรือการดำรงชีวิต ที่เป็นเอกลักษณ์

วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับประเพณีและพิธีกรรม

ประเพณีชักพระ เป็นประเพณีท้องถิ่นในภาคใต้ตอนกลาง เป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับความศรัทธาในพระ พุทธศาสนา และวิถีชีวิตชาวใต้ที่มีความผูกพันกับน้ำ ประเพณีชักพระหรือลากพระจัดขึ้นในช่วงออกพรรษา โดยเฉพาะในวันแรม 1ค่ำ เดือน 11 ด้วยความเชื่อว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากสวรรค์ชั้นดาว ดึงส์ลงมายังโลกมนุษย์ จึงมีการจัดงานเพื่อแสดงความยินดี ประชาชนจึงอัญเชิญพระพุทธองค์ขึ้นประทับ บนบุษบกที่จัดเตรียมไว้ แล้วแห่แหนไปยังที่ประทับ ส่วนใหญ่จะเป็นการจัดขบวนทางเรือ แต่บริเวณใดที่ ห่างไกลแม่น้ำก็จะจัดพิธีทางบก

img91

วัฒนธรรมภาคกลาง

ภาคกลางเป็นภาคที่มีประชาการสูงสุด โดยรวมพื้นที่อันเป็นที่ตั้ง ของจังหวัดมากกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ใช้ภาษากลางในการสื่อความหมายซึ่งกันและกัน วัฒนธรรมไทยท้องถิ่นภาคกลาง ประชาชนประกอบอาชีพทำนา การตั้งถิ่นฐานจะหนาแน่นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ มีวิถีชีวิตเป็นแบบชาวนาไทย คือ การรักพวกพ้อง พึ่งพาอาศัยกัน มีความเชื่อ และเคารพบุคคลสำคัญผู้ล่วงลับไปแล้ว มีการใช้เครื่องปั้นดินเผาตามชุมชนและหมู่บ้านในชนบท การละเล่นพื้นบ้านที่เป็นลักษณะเด่น ได้แก่ มังคละรำเต้น เต้นกำรำเคียว เพลงปรบไก่ เพลงลำตัด เป็นต้น นอกจากนี้ในท้องที่จังหวัดเพชรบุรี มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น คือมี ความสามารถในการปลูกสร้างเรือนไทย ความเป็นช่วงฝีมือที่ประณีตในการตกแต่งวัด และช่าง ประดิษฐ์ต่าง ๆ เช่น ช่างทอง ช่างแกะสลักลายไทย ลวดลายปูนปั้นประดับพระสถูปเจดีย์ชนกลุ่มน้อยในท้องถิ่นภาคกลาง มีหลายเผ่าพันธุ์ อาทิ ลาวโข่ง กระเหรี่ยง ในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี ลาวพวน ในอำเภอบ้านหมี จังหวัดลพบุรี คนลาว ในเขต จังหวัดเพชรบุรี ปราจีนบุรี และฉะเชิงเทรา มอญ ในอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ

ความเชื่อเรื่องแม่โพสพ

คนไทยมีความเชื่อดั้งเดิมเรื่องผีสางเทวดา ชีวิตประจำวันที่ผูกพันอยู่กับอาชีพชาวนา ชาวนาจึงเชื่อว่า ในข้าวมีวิญญาณแม่โพสพ ซึ่งมีบุญคุณต่อชาวนาสิงอยู่ จึงมีการ ปฏิบัติพิธีกรรมเพื่อระลึกถึงแม่โพสพ เช่นการสร้างศาลเพียงตาใน ทุ่งนา เรียกว่า “เรือนแม่โพสพ” มีการทำขวัญข้าวเมื่อข้าวเริ่มออก รวง หรือที่เรียกว่า”ข้าวตั้งท้อง” และนำข้าวอ่อนไปทำบุญถวายพระ ในประเพณีสารทเดือนสิบ ซึ่งมีการกวนข้าวทิพย์หรือข้าวมธุปายาส เมื่อมีการเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ก่อนจะนำข้าวเก็บยุ้งฉาง จะมีพิธีบอก กล่าวแม่โพสพ นอกจากนี้ยังมีความเชื่อว่าข้าวเป็นสิ่งที่มีบุญคุณต่อ ชีวิตมนุษย์ จึงได้รับการยกย่องโดยมีคำเรียกช่วงเวลาในสมัยโบราณ เมื่อข้าวตั้งท้องว่า “ตะวันอ้อมข้าว” แสดงให้เห็นความสำคัญของ ข้าวว่า เมื่อตั้งท้องแม้แต่พระอาทิตย์ยังต้องอ้อมข้าว เหมือนที่การ ปฏิบัติกันจนทุกวันนี้ คือ ไม่เหยียบข้าว ไม่ทิ้งข้าว เพราะถือว่าเป็น บาปกรรม

วัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นประเพณีที่ชาวอีสานจัดขึ้นในเดือน 6 เรียกกันว่า “บุญเดือนหก” มีจุดมุ่งหมายเพื่อ เป็นงานรื่นเริงครั้งใหญ่ก่อนการเริ่มทำนา และเป็นการสร้างกำลังใจว่าการทำนาในปีนั้นจะได้ผลดี โดยมี ความเชื่อว่าเทวดาคือ “พระยาแถน” สามารถบัลดาลให้พืชผลในท้องนาอุดมสมบูรณ์ หากบูชาเซ่นสรวงให้ พระยาแถนพอใจก็จะช่วยให้ฝนตกตามฤดูกาล การทำนาได้ผลธัญญาหารบริบูรณ์ โดยเฉพาะถ้าหมู่บ้านใคร ทำบุญบั้งไฟติดต่อกันทุก 3 ปี

img75.gif

วัฒนธรรมภาคเหนือ

ภาคเหนือมีลักษณะเป็นเทือกเขา สลับกับที่ ราบ ผู้คนจะกระจายตัวอยู่เป็นกลุ่ม มีวิถีชีวิต และขนบธรรมเนียมเป็นของตนเอง แต่ก็มีการ ติดต่อระหว่างกัน วัฒนธรรมของภาคเหนือหรือ อาจเรียกว่า “กลุ่มวัฒนธรรมล้านนา” ซึ่งเป็น วัฒนธรรมเก่าแก่และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้ง สำเนียงการพูด การขับร้อง ฟ้อนรำ หรือการจัด งานฉลองสถานที่สำคัญที่มีแต่โบราณ เช่น พระธาตุดอยสุเทพ วัดเจดีย์หลวง เป็นต้น

img05

วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับศาสนา ความเชื่อ

 ความเชื่อเกี่ยวกับการนับถือผี ชาวเหนือหรือที่เรียกกันว่า”ชาวล้านนา”มีความเชื่อในเรื่องการนับถือผีตั้งแต่เดิม โดย เชื่อว่าสถานที่แทบทุกแห่ง มีผีให้ความคุ้มครองรักษาอยู่ ความเชื่อนี้จึงมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เห็นได้ จากขนบธรรมเนียม ประเพณี และพิธีกรรมต่างๆ ของชาว เหนือ เช่น ผู้เฒ่าผู้แก่ชาวเหนือ (พ่ออุ๊ยแม่อุ๊ย) เมื่อไปวัดฟัง ธรรมก็จะประกอบพิธีเลี้ยงผี คือ จัดหาอาหารคาว-หวานเซ่น สังเวยผีปู่ย่าด้วย

ผีที่มีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของชาวล้านนา เช่น

1.ผีบรรพบุรุษ มีหน้าที่คุ้มครองเครือญาติและครอบครัว

2.ผีอารักษ์ หรือผีเจ้าที่เจ้าทาง มีหน้าที่คุ้มครองบ้านเมืองและชุมชน

3.ผีขุนน้ำ มีหน้าที่ให้น้ำแก่ไร่นา

4.ผีฝาย มีหน้าที่คุ้มครองเมืองฝาย

5.ผีสบน้ำ หรือผีปากน้ำ มีหน้าที่คุ้มครองบริเวณที่แม่น้ำสองสายมาบรรจบกัน

6.ผีวิญญาณประจำข้าว เรียกว่า เจ้าแม่โพสพ

7.ผีวิญญาณประจำแผ่นดิน เรียกว่า เจ้าแม่ธรณี

Tags
Show More

Related Articles

Close